ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก คือโรคที่สาธารณสุขประเทศไทยจัดเป็น ‘โรคติดต่ออันตราย’ โดยเกิดจากคนติดเชื้อไวรัสที่อาศัยในเห็บของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดกินพืชและในนกบางชนิด รวมถึงเชื้อที่อาศัยอยู่ในเลือดและในเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออกจากยุงลายกัด ต่างกันที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดเลือดออกได้รุนแรงมากกว่าในทุกอวัยวะ ส่งผลเกิดอัตราตายประมาณ 10-40% แต่ถ้าอาการรุนแรงมาก อัตราตายสูงได้ถึง80% รวมถึงโรคไข้เลือดออกไครเมีย-คองโกยังแพร่กระจายติดต่อระหว่างคนสู่คนได้อย่างรวดเร็วกว่าโรคไข้เลือดออกมาก

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก WHO จับตาสุ่มเสี่ยงระบาดทั่วโลก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยแพร่ข้อมูลการรับมือกับโรค “ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก” กับการระบาดในอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคติดเชื้อที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและสุ่มเสี่ยงจะระบาดไปทั่วโลก

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก (Crimean-Congo Hemorrhagic Fever: CCHF) เป็นโรคไวรัสที่อันตรายและอาจถึงตายได้ ซึ่งติดต่อโดย “เห็บ” พบการระบาดในหลายส่วนของโลก รวมถึงแอฟริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้และเอเชียกลาง โรคนี้พบครั้งแรกในแหลมไครเมียปี 2487 ต่อมาระบาดในคองโก จึงเป็นที่มาของชื่อ “ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก”

องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและจัดให้เป็น 1 ใน 10 โรคติดเชื้อไวรัสที่มีศักยภาพจะแพร่ระบาดไปทั่วโลก เพราะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกไครเมีย-คองโกถี่ขึ้นในช่วงปี 2564-2566

อัฟกานิสถาน มีรายงานผู้ป่วย 111 คน และเสียชีวิต 6 คนจากโรคไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก ตั้งแต่ปี 2565-2566 โดยพบผู้ป่วยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากว่า 90 คน โดยเฉพาะใน จ.เฮรัต ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อ 36 คน มีผู้เสียชีวิต 5 คน

ก่อนหน้านี้มีรายงานผู้ป่วย 3 คนใน จ.ทัคคาร์ โดยมีผู้ป่วย 1 คนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นและโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอัฟกานิสถานเร่งทำงานแข่งกับเวลาเพื่อควบคุมการระบาด

นอกจากนี้พบการระบาดในอิรัก 380 คนในปี 2565 เสียชีวิต 74 คน ส่วนอิหร่าน ช่วงเดือน มี.ค.2564 – มี.ค.2565 มีผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก 13 คนในประเทศ เพิ่มขึ้น 500% โดย 2 คนเสียชีวิต และหนึ่งปีก่อนหน้านั้นพบติดเชื้อ 40 คนและเสียชีวิต 5 คน

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก เป็นไวรัสที่มีเห็บเป็นพาหะ ทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกรุนแรง โดยมีอัตราการเสียชีวิต 10-40% ซึ่งไวรัสไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก ติดต่อผ่านการกัดของเห็บ หรือผ่านการสัมผัสกับเลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างและทันทีหลังการเชือดสัตว์เพื่อบริโภค ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบการระบาดในไทย

เห็บ พาหะไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก มีสาเหตุมาจาก “ไวรัสไนโร” (Nairovirus) ที่มีเห็บเป็นพาหะ อยู่ในวงศ์ของไวรัส “บันยาวิริเด” (Bunyaviridae) มีจีโนมเป็น RNA สายเดี่ยว แบ่งเป็น 3 ท่อน (L, M และ S) แพร่เชื้อโดยเห็บ (Ixodidae และ Argasidae) เป็นหลัก อีกทั้งสามารถแพร่เชื้อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์สู่สัตว์ เช่น ในนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก (ค้างคาว หนู ตัวตุ่น และเม่น) และสัตว์เท้ากีบร่วมด้วย บางกรณีมีการติดเชื้อไวรัสไนโรแพร่กระจายไปยังมนุษย์ โดยพบระบาดในผู้คนเลี้ยงสัตว์และพนักงานในโรงฆ่าสัตว์ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกกำลังติดตามสถานการณ์ในอัฟกานิสถานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากไข้เลือดออกไครเมีย-คองโกถือเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่สำคัญ

สำหรับไวรัสไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก ติดเชื้อมายังมนุษย์จากการถูกเห็บกัด หรือการสัมผัสกับเลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ หรือคนที่ติดเชื้อ อาการจะเกิดขึ้นระหว่าง 1-14 วันหลังเห็บกัดหรือสัมผัสสารคัดหลั่ง โดยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและมีเลือดออก กรณีที่รุนแรงอาจทำให้อวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศต่างๆ ควรเร่งเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

แม้จะไม่มีการรักษาเฉพาะ แต่การดูแลแบบประคับประคองสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วยไข้เลือดออกไครเมีย-คองโกได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตของโรคอยู่ในระหว่าง 10-40% และอาจพุ่งสูงถึง 60% ในช่วงที่มีการระบาด

ตัวเลขเหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของมาตรการป้องกัน เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเห็บ ใช้ยาขับไล่แมลง และการรักษาทันทีเมื่อเห็บกัด ส่วนคนงานในโรงงานฆ่าสัตว์ควรสวมถุงมือและชุดป้องกันการสัมผัสกับเลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ติดเชื้อ

10 โรคติดเชื้อที่องค์การอนามัยโลกเฝ้าติดตาม

สำหรับ 10 อันดับโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญที่องค์การอนามัยโลกประกาศให้ทั่วโลกเฝ้าติดตาม รวมโรค X ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไวรัสที่สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2560 และมีการจัดลำดับความสำคัญครั้งสุดท้ายในปี 2561 โดยรายชื่อโรคที่มีความสำคัญในปัจจุบัน ณ เดือน ก.ย. 2565 มีดังนี้

  1. โควิด 19
  2. ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก
  3. โรคไวรัสอีโบลา
  4. โรคไวรัสมาร์บวร์ก
  5. ไข้ลาสซา
  6. กลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)
  7. กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส)
  8. เฮนิปาไวรัส
    – ไวรัสนิปาห์ (NiV)
    -ไวรัสแลงยา (LayV)
    – ไวรัสเฮนดรา (HeV)
    – ซีดาร์ไวรัส (CedV)
    – ไวรัสโม่เจียง (MojV)
    – ไวรัสกานา (GhV)
    – ไวรัสเอ็ม 74 (M74V)
  9. โรค Rift Valley fever
  10. ซิก้า
  11. โรค X ใช้เรียกโรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้ออะไร

ไข้เลือดออกไครเมีย

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก คืออะไร

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก (Crimean-Congo hemorrhagic fever ย่อว่า โรคซีซีเอชเอฟ/CCHF) คือโรคที่สาธารณสุขประเทศไทยจัดเป็น ‘โรคติดต่ออันตราย’ โดยเกิดจากคนติดเชื้อไวรัสที่อาศัยในเห็บของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดกินพืชและในนกบางชนิด (เห็บเป็นรังโรค) และรวมถึงเชื้อที่อาศัยอยู่ในเลือดและในเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นโฮสต์) ซึ่งอาการหลักของโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออกจากยุงลายกัด  ต่างกันที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดเลือดออกได้รุนแรงมากกว่าในทุกอวัยวะ ส่งผลเกิดอัตราตายประมาณ 10-40% แต่ถ้าอาการรุนแรงมาก อัตราตายสูงได้ถึง80% รวมถึงโรคยังแพร่กระจายติดต่อระหว่างคนสู่คนได้อย่างรวดเร็วกว่าโรคไข้เลือดออกมาก อย่างไรก็ตามไวรัสที่ก่อโรคนี้จะไม่ก่ออาการโรคต่อเห็บ และต่อสัตว์ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้

ชนิดไวรัสและสัตว์ที่เป็นโฮสต์         

  • ปัจจุบันไวรัสที่เป็นสาเหตุเกิดไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก จัดอยู่ใน ‘สกุล/Genus ‘ออร์โธแนโรไวรัส/Orthonairovirus’, ‘วงศ์/Family’  ‘แนโรวิริดี/Nairoviridae’ และ ‘อันดับ/Order ‘บันยาไวราล/ Bunyavirales’, ทั้งนี้ บางท่านเรียกไวรัสกลุ่มนี้สั้นๆว่า ‘แนโรไวรัส’ และ บางท่านเรียกว่า ‘บันยาไวรัส’
  • สัตว์ฯที่เป็นโฮสต์/ตัวให้อาศัย(Host)ของไวรัสนี้: ทั่วไป คือ สัตว์บ้าน ปศุสัตว์ และสัตว์ป่า ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินพืช เช่น วัว ควาย แพะ แกะ กระต่าย อูฐ และ นกบางชนิด เช่น นกกระจอกเทศ นกอีมู

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโกพบทั่วโลกตลอดทั้งปี แต่พบชุกในช่วงอากาศอบอุ่นเพราะเห็บซึ่งเป็นทั้งรังโรค และตัวนำโรค เจริญแพร่พันธ์ได้ดี, ทั้งนี้มีการศึกษาที่รายงานในปีค.ศ. 2021 พบในภาพรวม ทั่วโลกมีความชุกของโรคนี้ 22.5% ของประชากร  ซึ่งเมื่อวินิจฉัยโรคจากตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานชนิดเพิ่งติดโรคฯ  พบโรคฯได้ 11.6%, และจากสารภูมิต้านทานชนิดเคยติดโรคนานแล้ว พบโรคฯ 4.3%

ประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานพบโรคไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก ทั้งนี้โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของหลายประเทศ ได้แก่  ประเทศต่างๆในอัฟริกา, ยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน, ยุโรปใต้, ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ตอนเหนือของประเทศจีน, อินเดีย , เอเชียกลาง, เอเชียใต้, และ ตะวันออกกลาง

อาการของไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก

ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) ทั่วไป ประมาณ 3-7 วัน(ช่วงประมาณ 1-14 วัน) โดยระยะฟักตัวจะขึ้นกับว่าผู้ป่วยติดเชื้อด้วยวิธีใด ได้แก่ ถ้าจากถูกเห็บกัด ทั่วไประยะฟักตัวจะประมาณ1-3 วัน (นานที่สุดประมาณ 9 วัน) ส่วนเมื่อติดเชื้อจากสัมผัส สารคัดหลั่ง เลือด หรือเนื้อเยื่อคน/สัตว์ป่วย ทั่วไประยะฟักตัวจะประมาณ 5-6 วัน (นานสุดประมาณ 13 วัน)

ไข้เลือดออกไครเมีย-คองโก เป็นโรคที่อาการเกิดเฉียบพลัน มีอาการต่างๆ คือ

  • ใน 1-4 วันแรก อาการที่มักพบในผู้ป่วยเกือบทุกคน ได้แก่ มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ/ ปวดข้อ/ ปวดเนื้อตัว, ปวดหัว, ปวดต้นคอ, คอแข็ง, ปวดหลัง, วิงเวียน, ตาเจ็บ, น้ำตาไหล/ตาไม่สู้แสง
    • ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เจ็บคอ
    • มีอารมณ์แปรปรวน  ตามด้วยอาการสับสน ไม่สงบ/กระวนกระวาย
  • หลังจาก 2-4 วัน จะเริ่มง่วงซึม อิดโรย
    • อาการปวดท้อง จะเป็นเฉพาะที่ คือด้านขวาใต้ชายโครงจากมี ตับโตจากตับอักเสบ
  • อาการอื่นๆ ที่เกิดตามมา เช่น
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • ต่อมน้ำเหลืองบวมทั่วตัว คลำพบได้
    • มีจุดเลือดออกกระจาย และเป็นผื่นเลือดออก ตามผิวหนังทั่วร่างกาย และในเนื้อเยื่อเมือก (เช่น ในช่องปาก) ที่รวมถึงในอวัยวะภายในต่างๆ, ต่อจากนั้น ถ้าอาการแย่ลง จะเกิดเลือดออกมากขึ้นจนเห็นเป็นปื้น/ห้อเลือด และ/หรือ มีอาการเลือดไหล/เลือดไหลออกได้จากทุกอวัยวะ/ทั่วตัว
    • อาการของภาวะตับอักเสบ เช่น เจ็บตับ ตับโตจนแน่นท้อง หายใจอึดอัด ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะสีซีด ท้องมาน
    • ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน, ตามมาด้วยหรือร่วมกับ ตับวาย และภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการเหล่านี้พบเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 5 นับจากเริ่มมีอาการ
  • ผู้ป่วยที่สภาพร่างกายแข็งแรง/มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ดีก่อนเกิดโรคนี้ และที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคนี้ได้ มักเริ่มฟื้นตัว/อาการค่อยๆดีขึ้นในวันที่ 9-10 นับจากวันแรกของการมีอาการ
  • แต่ถ้าไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคได้ ผู้ป่วยมักถึงตายภายใน 2 สัปดาห์นับจากวันแรกของการมีอาการ

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่  odontodicas.com

สนับสนุนโดย  ufabet369