สมองล้า

หลังจากติดโควิด-19 ผู้ป่วย จะมีอาการ โรคลมบ้าหมู สมองเสื่อม และสมองล้า เพิ่มมากขึ้น

จากผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหรัฐ ได้รายงานไว้ว่า หลังจากที่ผู้ป่วย หายจากโรคโควิด-19 มักจะมีอาการ ติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจอื่นๆ อีกทั้งยังมีอาการ ลมบ้าหมู สมองเสื่อม และสมองล้า เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่ในข้อมูลงานวิจัย ชิ้นเดียวกันกับพบว่า ผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็ก ในช่วง 2 ปี หลังจากติดโควิด ไม่พบภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล แต่อย่างใด

ด้านทีมผู้เชี่ยวชาญ ยังกล่าวอีกว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 อาจจะทำให้เกิดอาการป่วยได้ง่าย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม ด้านทีมนักวิจัยเรื่องนี้ ยังคงต้องศึกษาและเก็บข้อมูงเพิ่มเติมให้ได้มากกว่านี้ เพื่อหาคำตอบให้ได้มากที่สุด ว่าเหตุใด ผู้ป่วยหลังจากติดโควิด จึงมีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นมาได้

ในอีกงานวิจัยก่อนหน้านี้ จำนวณหลายชิ้น ก็ได้มีข้อมูลระบุว่า ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่นั้น ในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากติดโควิด มีความเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพจิต และสมองมากขึ้น

สมองล้า
งานวิจัยชิ้นนี้พิจารณาความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติ 14 ประเภท

ในผู้ป่วยจำนวน 1.25 ล้านคน ในช่วงเวลา 2 ปีหลังติดโรคโควิด โดยกลุ่มประชากรเหล่านี้อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับประชากรอีก 1.25 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มประชากรลักษณะใกล้เคียงกัน แต่มีอาการการติดเชื้อด้านระบบทางเดินอากาศแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด

สำหรับกลุ่มที่เป็นโควิด ในช่วงสองปีหลังการติดเชื้อ พบว่ามีอาการใหม่ ๆ เหล่านี้ : ภาวะสมองเสื่อม เส้นเลือดในสมองแตก และภาะสมองล้า ในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ภาวะสมองล้า ในประชากรอายุระหว่าง 18-64 ปี โรคลมบ้าหมูและความผิดปกติทางจิตในเด็ก แม้ความเสี่ยง โดยรวมยังนับว่าน้อยอยู่ ยกตัวอย่างเช่นเด็ก 260 คน

จากจำนวน 10,000 คน มีความเสี่ยง ในการเป็นโรคลมบ้าหมูหลังโควิด ขณะที่เด็กที่ป่วยเป็นโรคทางทางเดินหายใจอื่นๆ มีโอกาสเป็นลมบ้าหมูประมาณ 130 คน จาก 10,000 คน ขณะที่ความเสี่ยง ที่จะเกิดความผิดปกติทางจิต หลังติดโควิดเพิ่มขึ้นแต่ถือว่าพบได้น้อยมาก โดยมีสัดส่วน 18 คน จาก 10,000 คน อาการผิดปกติบางอย่างที่พบได้น้อย

หลังผู้ป่วยเป็นโควิดมาแล้วสองปี ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ความผิดปกติทางจิตในผู้ใหญ่ ผลวิจัยพบว่าความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวลจะหายไป ในเวลาสองเดือน หลังผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ ศ.พอล ฮาร์ริสัน หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ “น่ากังวล” ที่พบอาการอย่างภาวะสมองเสื่อมและโรคลมชักบ่อยครั้งหลังผู้ป่วยเป็นโควิด แม้จะผ่านมาแล้วถึงสองปีก็ตาม แต่เขาเสริมว่ามันเป็น “ข่าวดี” ที่อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลหลังป่วยเป็นโควิดเกิดขึ้นเพียง“ระยะสั้นๆ ” และไม่พบอาการดังกล่าวในเด็ก นักวิจัยกล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะ “มองข้าม” ผลกระทบเหล่านี้

แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็น “คลื่นสึนามิ” และในบางกรณีอาจต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งอาจไปสร้างภาระเพิ่มเติมให้กับบริการทางสาธารณสุข สำหรับงานงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ได้วารสารจิตเวชแลนเซ็ต (Lancet Psychiatry) ไม่ได้ติดตามผู้ป่วยแต่ละคนตลอดช่วงเวลาสองปีหลังจากที่พวกเขาป่วยเป็นโควิด

สิ่งที่นักวิจัยทำคือการวิเคราะห์ จำนวนคนที่ได้รับการวินิจฉัย อาการใหม่สองปีหลัง จากที่พวกเขาป่วยเป็นโควิดแทน นอกจากนี้ ยังไม่ได้ดูความรุนแรง ของอาการแต่ละอย่าง หรือไม่ได้วิเคราะห์ว่าพวกเขามีอาการดังกล่าวยาวนานแค่ไหน ทั้งยังไม่ได้เปรียบเทียบว่า อาการที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย หลังจากเป็นโควิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่นๆ

มีความคล้ายคลึงกันหรือไม่ แต่นักวิจัยไม่เรียกอาการเหล่านี้ว่าเป็น “ลองโควิด” หรือผลค้างเคียงจากการเป็นโควิดในระยะยาว แม้ว่าอาการสมองล้าหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและสมาธิเป็นอาการที่พบโดยทั่วไป งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดเมื่อฤดูหนาวที่ผ่านมา ทำให้เกิดอาการลองโควิดน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

ทว่าแม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อย่างเดลต้า แต่ยังพบว่าโอมิครอนทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะทางสมองและสุขภาพจิตได้เช่นเดียวกัน

“ความวุ่นวายทางสังคม”

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดชิ้นนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ กล่าวคือไม่ได้ชี้ว่าโรคโควิดทำให้เกิดความผิดปกติทางสมองและจิตใจได้อย่างไร แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งบอกว่าสามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะการเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก

ศ.เดวิด เมนอน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่าผลกระทบของการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะป่วยเป็นโควิด “เท่ากับการแก่ตัวลงถึง 20 ปี (ระหว่างอายุ 50 – 70 ปี)”

พอล การ์เนอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านกระบวนการวิจัยเชิงสังเคราะห์ในประเด็นสุขภาพโลกจากวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนลิเวอร์พูล (LSTM) กล่าวว่า โควิดเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนไปมาก

เขาเสริมว่าอาการสมองเสื่อมและอาการทางจิตที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยนั้น “น่าจะมาจากความวุ่นวายทางสังคมและสภาพความเลวร้ายที่เราต้องเผชิญกันอยู่ มากกว่าจะเป็นผลโดยตรงจากเชื้อไวรัส”

 

ขอบคุณ แหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : odontodicas.com